ผลิต-จำหน่าย อุปกรณ์ และเครื่องมือ สำหรับการก่อสร้าง และงานอุตสาหกรรม
ผลิต-จำหน่าย อุปกรณ์ และเครื่องมือ สำหรับการก่อสร้าง และงานอุตสาหกรรม

เทคนิคการใช้งานสายจี้คอนกรีต

เทคนิคการใช้งานสายจี้คอนกรีต

 

1) เลือกหัวจี้ให้มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เหมาะกับงาน
2) ความลึกสูงสุดของคอนกรีตที่จะทำการจี้แต่ละครั้งควรอยู่ที่ประมาณ 60 ซม. หรือน้อยเท่าที่จะทำงานได้อย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโพรงอากาศขังในเนื้อคอนกรีตขณะทำการจี้
3) ขณะใช้งาน ให้คลายสายจี้ออกให้งอน้อยที่สุด ห้ามม้วนเป็นขด
4) ควรจุ่มหัวจี้ในแนวดิ่ง เพื่อให้เนื้อคอนกรีตมีความแน่นสม่ำเสมอทั่วทุกส่วน
5) จุ่มหัวจี้ลงไปให้ตลอดความลึกของคอนกรีตที่เทใหม่ หรือให้ลงไปในผิวของชั้นคอนกรีตที่เทก่อนหน้าประมาณ 3 – 6 นิ้ว ถ้าคอนกรีตที่เทก่อนหน้ายังอยู่ในสภาวะพลาสติก เพื่อให้เกิดการประสานกันของเนื้อคอนกรีต

6) จุ่มหัวจี้ในทุก ๆ ระยะ 45 – 60 ซม. หรือ ประมาณ 8 – 10 เท่าของขนาดหัวจี้ (1 1/2 เท่าของรัศมีการทำงานหัวจี้)

7) จุ่มแช่หัวจี้ไว้ประมาณ 5 – 15 วินาที หรือจนกระทั่งสังเกตเห็นเนื้อมอร์ตาร์ขึ้นมาพอดีเต็มผิวหน้า ไม่จุ่มนานเกินไปจนเนื้อมอร์ตาร์เอ่อเยิ้ม หรือจุ่มน้อยเกินไปโดยที่เนื้อหินยังลอยอยู่
8) การจี้คอนกรีตที่มากหรือนานเกินไปอาจทำให้เนื้อคอนกรีตเกิดการแยกตัว มวลรวมหยาบเช่นก้อนหินแยกตัวจมลงไปข้างล่าง เหลือมอร์ตาร์ลอยอยู่ข้างบน และมีน้ำเยิ้มที่ผิวหน้า โดยเฉพาะคอนกรีตที่มีค่า Slump เกิน 10 ซม. มีผลทำให้คอนกรีตสูญเสียความแข็งแรงได้
9) การดึงหัวจี้ขึ้น ให้ดึงช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโพรงอากาศขังอยู่ในเนื้อคอนกรีต อัตราเร็วที่เหมาะสมเช่น ประมาณ 4 วินาทีต่อฟุตในคอนกรีตที่มีค่า Slump 10 ซม. หรือ ประมาณ 12 วินาทีต่อฟุตในคอนกรีตที่มีค่า Slump ใกล้ 0
10) ไม่ควรใช้หัวจี้ในการดันให้คอนกรีตไหลไปทางด้านข้าง เพราจะทำให้เนื้อคอนกรีตเกิดการแยกตัว
11) ระวังไม่ให้หัวจี้ไปติดกับเหล็กเส้นหรือแบบเหล็กนานเกินไป ระวังอย่างัดหัวจี้หรือสายจี้ และอย่าวางหัวจี้ทิ้งไว้กับพื้นขณะเดินเครื่อง เพราะอาจทำให้สายจี้พังเสียหายได้